วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


แผนการจัดประสบการณ์
หน่วยเรื่องดอกไม้ ชั้นอนุบาล 1
จุดประสงค์
1.บอกชื่อของดอกไม้ได้อย่างน้อย 5 ชนิด
2.นับและบอกจำนวนดอกไม้อย่างน้อย 5 ได้

สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1.ชื่อของดอกไม้
2.การรู้ค่าและความหมายของจำนวน 5

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
ด้านอารมณ์
-การแสดงออกอย่างสนุกสนาน
ด้านสังคม
-การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การรับรู้ผ่านสื่อเช่น ของจริง (ดอกกุหลาบ )

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
(ควรเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ที่สร้างความคุ้นเคย เช่น เพลง) ครูสอนให้เด็กพูดตามเพลง แล้วร้องเพลงตาม หลังจากนั้นให้ร้องเพลงพร้อมกัน
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงชื่อดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้เด็กเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับดอกไม้ให้เพื่อนฟัง โดยครูใช้คำถามดังนี้
- ในเพลงมีดอกไม้อะไรบ้าง
-แล้วที่บ้านใครปลูกดอกไม้บ้าง
2. ครูและเด็กร่วมกันสรุปชื่อดอกไม้
3.ครูนำดอกไม้บางชนิดมาให้เด็กสังเกต เช่น ดอกกุหลาบ โดยใส่ตะกร้า แล้วคลุมผ้าให้เด็กตัวแทนออกมาจับแล้วให้เพื่อนช่วยกันทายว่าเป็นดอกอะไร นับจำนวนดอกกุหลาบ

ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปชื่อและนับจำนวนดอกไม้อีกครั้ง

แหล่งการเรียนรู้/สื่อ

1.ของจริง
(ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน ดอกมะลิ ดอกดาวเรือง
ดอกกล้วยไม้)
2. ตะกร้า
3.เพลง
ดอกมะลิ กุหลาบ
ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้ ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน
การประเมินผลการเรียนรู้
1.สังเกตความสนใจการมีส่วนร่วมในการเรียน
2.ฟังการแสดงความคิดเห็นการตอบคำถาม
หน่วยดอกไม้...งานกลุ่มจร๊า


วันนี้...อยากบอก วันที่ 4 ก.พ. 2553
สวัสดีค่ะ สำหรับการเรียนการสอน อาจารย์อธิบายถึงวิธีการจัดประสบการณ์ และจากนั้นก็อธิบายเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีการสอนของแต่ละอนุบาลอย่างละเอียด ซึ่งการเรียนการสอนในวันนี้ยาวนานมาก ถึงประมาณหกโมงเย็น แต่ก็ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ

บรรยากาศในการเรียนของวันนี้ นักศึกษาต่างก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย โดยเฉพาะของตนเอง แต่ก็มีบ้างที่นักศึกษาไม่ได้สนใจฟัง เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง (เราก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน) แต่บางครั้งเราก็ได้ของเพื่อนคนอื่นบ้างเหมือนกันนะ

เนื้อหาการเรียนการสอน
***การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ***
ต้องรู้"วิธีการเรียนรู้" (การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงปฏิบัติจริงกับสิ่งนั้น) ได้แก่
- รู้พัฒนาการ
- รู้ความต้องการของเด็ก
- รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่น (เป็นเครื่องมือที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้)

***วิธีการเรียนรู้ของเด็ก***
คือ ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส โดยผ่านประสทสัมผัสทั้ง 5 จากการได้ลงมือกระทำ


***วิธีการสอนคณิตศาสตร์***
อาจมีหลายวิธีที่แตกต่างกันไป แต่วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การสอนจากของจริง >>> ภาพ >>> สัญลักษณ์

วันนี้...อยากบอกวันที่ 28 ม.ค. 2553
สวัสดีค่ะ...อาจารย์ได้เข้าห้องอาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับเราได้กลุ่ม B เรื่อง ดอกไม้ค่ะ แต่สำหรับในห้องจะมีการสับสนนิดหน่อยระหว่าง กลุ่ม A และกลุ่ม B ว่าได้เรื่องอะไร
หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น


หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบ
จะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการ
คือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น

หน่วยแมลง
ลักษณะการสอนจะคล้ายของดอกไม้ ในส่วนที่เป็นหัวข้อในการสอน
อนุบาล 1 สอนคล้ายดอกไม้ เช่น ชื่อของแมลง, ลักษณะของแมลง เป็นต้น
อนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง คือเจาะไปเฉพาะเรื่องเลย
อนุบาล 3 สอน ประเภท, การสำรวจสถานที่ที่มีแมลงเยอะๆ, วิธีทำให้แมลงมาหาเรา เป็นต้น

วันนี้...อยากบอก วันที่ 21 ม.ค. 2553
สวัสดีค่ะ... เช่นเคยหลังเรียนทีไรเราต้องมาเจอกันแบบนี้ทุกครั้ง มิเช่นนั้นคะแนน Blog หาย แต่วันนี้รู้สึกว่าเหมือนเราแกล้งอาจารย์ยังไงก็ไม่รู้ เพราะทั้งที่รู้ว่าห้องคอมฯไมค่อยอัพเกรด แต่ก็ดดั้นไปอัพโปรแกรม Mind maping 2009 มาทำให้วุ่นวายกันไปใหญ่ อาจารย์ก็เลยเปิดงานที่ส่งไม่ได้เลย

แต่ถึงยังไงอาจารย์ก็ไม่ยอมเสียเวลา โดยการอธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำวานเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุเด็ก

- อนุบาล 1 : 3-4 ขวบ

- อนุบาล 2 : 4-5 ขวบ

- อนุบาล 3 : 5-6 ขวบ

แล้วตกลงกันเองว่าใครจะอยู่ช่วงไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

ในเรื่องการเรียนการสอนโดยทั่งไป อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาในแต่ละกลุ่มต้องช่วยกันเขียนแผน "ว่าแต่เราเองก็ยังไม่ได้เริ่มเลยนะ"

วันนี้...อยากบอก วันที่ 7 ม.ค. 2553
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆทุกคน ไม่ได้เข้า Blogger มาตั้งนาน แต่ไหนๆเข้ามาก็ขอระลึกถึงความหลังที่อาจารย์ได้สอนไปล่ะกันค่ะ ซึ่งหัวข้อโดยรวมที่สอนก็อย่างเช่น

- คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

- มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก

- ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

- หลักการสอน

- หลักการสอนทางคณิตศาสตร์

- ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์



สำหรับเนื้อหาที่สรุปได้จากการเรียนการสอน คือ ในการสอนไม่ว่าจะสอนอะไรก็ตามครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องของการใช้สื่อที่แตกต่างกัน



หลักการสอนคณิตศาสตร์

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดี เช่น

ธรรมชาติการเรียรู้ เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ "อย่ากรู้อย่ากเห็น"

- สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

- เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

- มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

- เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กรินนมให้เพื่อนคนละครึ่งแก้ว,ให้เด็กนับจำนวนกล้วยใน 1 หวี

- ใช้ประโยชน์จากประสบการณืเดิมของเด็ก

วันนี้...อยากบอก

กลับมาอีกครั้งแล้ว ดูเหมือนระยะเวลาจะห่างไกล แต่เปล่าเลยห่างกันไม่กี่ชั่วโมง (ต้องรับหน่อยเดี๋ยวไม่ทัน) ที่บอกเมื่อครั้งที่แล้วว่าจะนำบทสรุปของแต่ละกลุ่มมาเขียนมันคงเป็นไปไม่ได้เพราะ เพื่อนๆยังคงเมือนเดิม ไม่มีความคืบหน้าใดใดเลย ครั้งนี้จึงสรุปการเข้าเรียนก็แล้วกันนะ ขอเข้าเรื่องเลยละกัน

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่าที่สรุปได้เรื่องที่อาจารย์ได้สอนมีดังนี้


** คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์**

1. ตัวเลข

2. ขนาด

3. รูปร่าง

4. ที่ตั้ง

5. ค่าของเงิน

6. ความเร็ว

7. อุณหภูมิ


** หลักสูตรคณิตศาสตร์ที่ดี** ต้องมีความสมดุลในเรื่องดังต่อไปนี้

1. เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาการคิดรวบยอด

2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ

3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น และค้นค่ว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน

- มีกิจกรรมที่หลากหลาย

- ครูเปิดโอกาสให้เดฏได้ทำเอง

- เปิดโอกาสให้เดกได้ใช้สื่อที่แตกต่างกัน

** หลักการสอน**
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเดฏ ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รูและเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น ธรรมชาติของเด็ก

- อยากรู้อยากเห็น

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"

3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรูและลำดับขั้นของพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก เช่น การสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

5. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

6. รู้จักใช้สถาการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

7. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง

8. ใช้วิธีการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข

9. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

10. เน้นกระบวนการ


**ทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในคาบเท่านั้น เพราะอาจจะมีมากกว่านี้ก็ได้ แต่เท่าที่จำได้ก็มีแค่นี้ (สุดๆแล้ว)

ความหมายของคณิตศาสตร์
***คณิตศาสตร์***คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า mathsความหมายของคำว่า คณิตศาสตร์ ได้มีผู้ที่ให้นิยามไว้มากมาย แต่แหล่งข้อมูลแห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ " วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี " ได้สรุปไว้ค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่งขอนำเสนอบางส่วนดังนี้1.คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์2.คณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์3.คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.4.คำว่า "คณิตศาสตร์" ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้".5.ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths6.โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ
สังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย คณิตศาสตร์ใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม.8.คณิตศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภทสำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน9.นักคณิตศาสตร์หลายคนทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้.10.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา

วันนี้อยากบอก

บันทึกการเข้าเรียน
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วแต่ก็รู้สึกดีที่ได้เรียนที่ห้องคอมฯ ไม่เคยรู้สึกอะไรแบบนี้มาก่อน ในห้องเรียนสนุกสนานดี แต่ยังคงมีเสียงดังอยู่ตามเคย มีฟังอาจารย์บ้างไม่ฟังบ้าง ได้ทำบล็อกเล่นๆเพลินดี ตกแต่งตรงโน้นทีตรงนี้ทีทำไปทำมา...หายหมดเลยชั่วโมงนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงวิธีการเขียนบันทึกหลังการเรียน ควรประกอบไปด้วยประเด็นเหล่านี้- บรรยากาศในการเรียน- ความรู้ ความเข้าใจ- งานที่ได้รับ- สรุปข้อคิดที่ได้จาการเรียน สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิดต่าง และข้อเสนอแนะต่างๆไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งที่อาจารย์สอนมีอะไรบ้าง เราเองก็ สุ จิ ปุ ลิ มาแค่นี้เพราะเราเองก็ไม่ค่อยได้สนใจเหมือนกัน แต่ให้สัญญาว่าต่อไปจะตั้งใจเรียนให้มากว่านี้ (เท่าที่จะทำได้)***อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่มประมาณ 5-6 คน พร้อมกับให้หัวข้อของแต่ละกลุ่ม กลุ่มของเราได้หัวข้อเรื่อง "สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" พร้อมรวบรวมส่ง E-mail ให้อาจารย์

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน จร๊า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552
สวัสดีค่ะ...อาจารย์
วันนี้เป็นการเรียนการสอนในวันแรกของการเปิดเรียน อาจารย์ได้ อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
และอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสร้าง Blog ขึ้นมาคนละ1 Blog เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงาน
การเปิด Blog ใหม่ ในวิชานี้ สำหรับบรรยากาศ ในการเรียนในวันแรก อาจารย์ก็น่ารักมากค่ะ เป็นกันเอง
ทำให้การเรียนในวันแรกนี้เป็นไปอย่างสนุกสนาน แต่แอร์ในห้องเรียน หนาวมากค่ะ ทำให้ง่วงนอน สำหรับการเรียนในสัปดาห์ต่อ ๆไป ดิฉันคงตั้งใจเรียนมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ